วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

โรงเรียนในอำเภอ ธารโต


โรงเรียนในอำเภอ ธารโต




1. โรงเรียน ธารโตวัฑฒนวิทย์
  โรงเรียน ธารโตวัฑฒนวิทย์ โรงเรียน ใน ตำบล ธารโต อำเภอ ธารโต จังหวัด สพม. เขต 15
2. โรงเรียน นิคมสร้างตนเองธารโต 5
  โรงเรียน นิคมสร้างตนเองธารโต 5 โรงเรียน ใน ตำบล ธารโต อำเภอ ธารโต จังหวัด ยะลา สพป.ยะลา เขต 3
3. โรงเรียน นิคมสร้างตนเองธารโต 6
  โรงเรียน นิคมสร้างตนเองธารโต 6 โรงเรียน ใน ตำบล บ้านแหร อำเภอ ธารโต จังหวัด ยะลา สพป.ยะลา เขต 3
4. โรงเรียน บ้านจุโป
  โรงเรียน บ้านจุโป โรงเรียน ใน ตำบล แม่หวาด อำเภอ ธารโต จังหวัด ยะลา สพป.ยะลา เขต 3

5. โรงเรียน บ้านโต
  โรงเรียน บ้านโต โรงเรียน ใน ตำบล แม่หวาด อำเภอ ธารโต จังหวัด ยะลา สพป.ยะลา เขต 3
6. โรงเรียน บ้านไทยพัฒนา
  โรงเรียน บ้านไทยพัฒนา โรงเรียน ใน ตำบล คีรีเขต อำเภอ ธารโต จังหวัด ยะลา สพป.ยะลา เขต 3
7. โรงเรียน บ้านนิคมสร้างตนเองธารโต
  โรงเรียน บ้านนิคมสร้างตนเองธารโต โรงเรียน ใน ตำบล ธารโต อำเภอ ธารโต จังหวัด ยะลา สพป.ยะลา เขต 3
8. โรงเรียน บ้านบ่อหิน
  โรงเรียน บ้านบ่อหิน โรงเรียน ใน ตำบล บ้านแหร อำเภอ ธารโต จังหวัด ยะลา สพป.ยะลา เขต 3
9. โรงเรียน บ้านบัวทอง
  โรงเรียน บ้านบัวทอง โรงเรียน ใน ตำบล บ้านแหร อำเภอ ธารโต จังหวัด ยะลา สพป.ยะลา เขต 3
10. โรงเรียน บ้านปะเด็ง
  โรงเรียน บ้านปะเด็ง โรงเรียน ใน ตำบล แม่หวาด อำเภอ ธารโต จังหวัด ยะลา สพป.ยะลา เขต 3 

สินค้า OTOP

ไม้กวาดดอกหญ้า

  เป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมที่ทำจากดอกหญ้ารวมกัน ด้วยเชือกไนล่อนหลากสี ขนาดยาวประมาณ 80 ซ.ม.
  รายละเอียดผลิตภัณฑ์
เป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมที่ทำจากดอกหญ้ารวมกัน ด้วยเชือกไนล่อนหลากสี ขนาดยาวประมาณ 80 ซ.ม.

วัตถุดิบที่ใช้
ดอกหญ้า, เชือกไนล่อน

กระบวนการผลิต
นำก้านดอกหญ้า จำนวนปริมาณพอเหมาะ โดยหากต้องการให้ไม้กวาดสามารถใช้กวาดได้ดี ก็ใช้ดอกหญ้าจำนวนมากกว่าปกติ มามัดรวมกันด้วยเชือกไนล่อนโดยขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละบุคคลในการพันคอไม้กวาด ซึ่งจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันบ้าง

การใช้/ประโยชน์
ใช้กวาดขยะหรือปัดฝุ่นบนพื้นอาคารที่แห้ง

สถานที่จำหน่าย
สหกรณ์น้ำยางปะเด็งก้าวหน้า
ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 7 ต.แม่หวาด อ.ธารโต จ.ยะลา
ติดต่อ : นายกนกพงศ์ ฟุ้งแสงรุ่งเรือง
โทร :073-219214





































 

อาหารประจำท้องถิ่น




อาหารประจำท้องถิิ่น





         เม็ดเหรียง เป็นคำเรียกของคนภาคใต้ มีลักษณะคล้ายถั่วงอกหัวโต แต่หัวและหางใหญ่กว่ามาก สีเขียว เวลาจะรับประทานต้องแกะเปลือกซึ่งเป็นสีดำออกก่อน จะนำไปรับประทานสดๆ หรือนำไปผัดกับเนื้อสัตว์  หรือนำไปดองรับประทาน
กับแกงต่างๆ หรือกับน้ำพริกกะปิ หรือ กับหลนก็ได้



        ลูกเนียง  มีลักษณะกลม เปลือกแข็งสีเขียวคล้ำเกือบดำ ต้องแกะเปลือกนอก แล้วรับประทานเนื้อใน ซึ่งมีเปลือกอ่อนหุ้มอยู่ เปลือกอ่อนนี้จะลอกออกหรือไม่ลอกก็ได้แล้วแต่ความชอบ ใช้รับประทานสดๆ กับน้ำพริกกะปิ หลนแกงเผ็ด โดยเฉพาะแกงไตปลา ลูกเนียงที่แก่จัดใช้ทำเป็นของหวานได้ โดยนำไปต้มให้สุกแล้วใส่มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย และน้ำตาลทรายคลุกให้เข้ากัน

         ฝักสะตอ มีลักษณะเป็นฝักยาว สีเขียว เวลารับประทานต้องปอกเปลือกแล้วแกะเม็ดออก ใช้ทั้งเม็ดหรือนำมาหั่น ปรุงอาหารโดยใช้ผัดกับเนื้อสัตว์หรือใส่ในแกง นอกจากนี้ยังใช้ต้มกะทิรวมกับผักอื่นๆ หรือใช้เผาทั้งเปลือกให้สุก แล้วแกะเม็ดออกรับประทานกับน้ำพริก หรือจะใช้สดๆ โดยไม่ต้องเผาก็ได้ ถ้าต้องการเก็บไว้นานๆ ควรดองเก็บไว้

สถานที่ท่องเที่ยว

สถานที่ท่องเที่ยว
น้ำตกธารโต
อยู่ที่ตำบลถ้ำทะลุ ห่างจากตัวเมืองยะลาไปตามถนนสายยะลา-เบตง (ทางหลวง 410) กิโลเมตรที่ 47-48 มีทางแยกขวาไปอีกราว 1 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ 7 ชั้น มองเห็นเป็นทางน้ำที่ไหลลดหลั่นมาจากภูเขาสูง มีแอ่งน้ำซึ่งสามารถเล่นน้ำได้ โดยรอบร่มรื่นไปด้วยป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจมากมายรวมทั้งต้นศรียะลา หรืออโศกเหลือง ซึ่งจะออกดอกชูช่อสีเหลืองสวยงามในราวเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
น้ำตกละอองรุ้ง

อยู่ที่หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านแหร ห่างจากตัวจังหวัดยะลาไปทางเบตงประมาณ 80 กิโลเมตร ด้านขวามือ มีทางเข้าไปยังหมู่บ้านที่อาศัยของชนเผ่าซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “เงาะซาไก” เดิมดำรงชีวิตอยู่ด้วยการหาของป่า มีความชำนาญในด้านสมุนไพรและเป่าลูกดอกล่าสัตว์ บ้านเรือนของซาไกเดิมสร้างด้วยไม้ไผ่ มุงหลังคาจาก ต่อมา กรมประชาสงเคราะห์ได้พัฒนาหมู่บ้านแห่งนี้ โดยรวบรวมชาวซาไกมาอาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน และให้มีอาชีพทำสวนยางและได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีขอใช้คำว่า “ศรีธารโต” ให้ทุกคนใช้เป็นนามสกุล ปัจจุบันมีชนเผ่าซาไกที่ยังคงอาศัยอยู่บ้าง แต่บางส่วนได้แยกย้ายไปทำงานที่อื่น
หมู่บ้านซาไก
อยู่ที่หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านแหร ห่างจากตัวจังหวัดยะลาไปทางเบตงประมาณ 80 กิโลเมตร ด้านขวามือ มีทางเข้าไปยังหมู่บ้านที่อาศัยของชนเผ่าซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “เงาะซาไก” เดิมดำรงชีวิตอยู่ด้วยการหาของป่า มีความชำนาญในด้านสมุนไพรและเป่าลูกดอกล่าสัตว์ บ้านเรือนของซาไกเดิมสร้างด้วยไม้ไผ่ มุงหลังคาจาก ต่อมา กรมประชาสงเคราะห์ได้พัฒนาหมู่บ้านแห่งนี้ โดยรวบรวมชาวซาไกมาอาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน และให้มีอาชีพทำสวนยางและได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีขอใช้คำว่า “ศรีธารโต” ให้ทุกคนใช้เป็นนามสกุล ปัจจุบันมีชนเผ่าซาไกที่ยังคงอาศัยอยู่บ้าง แต่บางส่วนได้แยกย้ายไปทำงานที่อื่น

ข้อมูลทั่วไป


 อำเภอ ธารโต




 ประวัติความเป็นมา

    ได้มีการจัดตั้งเป็น ตำบลธารโต เมื่ออำเภอได้รับการยกฐานะ เป็นอำเภอธารโต เมื่อปี พ.ศ.2524 เริ่มแรก มีจำนวน 8 หมู่บ้าน และเมื่อปี พ.ศ. 2535 ได้มีหมู่บ้านแยกไปขึ้นกับตำบลคีรีเขต ซึ่งเป็นตำบลตั้งขึ้นใหม่ จนถึงปัจจุบัน ตำบลธารโต ได้มีการแยกหมู่บ้านจากหมู่บ้านเดิม และมีหมู่บ้านรวมทั้งสิ้น 7 หมู่บ้าน

พื้นที่

ตำบลธารโต มีหมู่บ้านทั้งหมด 7 หมู่บ้าน มีครัวเรือนทั้งหมด 854 ครัวเรือน มีประชากร ทั้งหมด 4,324 คน สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นบริเวณภูเขาสูงชัน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
 อาณาเขตติดต่อทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอบาลิง รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย
ลักษณะภูมิประเทศ
          สภาพพื้นที่อำเภอธารโต มีพื้นที่ทั้งหมดเป็นภูเขาสูงแบบลูกคลื่นลอนลึกถึงลอนตื้นสลับ ซับซ้อนระดับความสูงเฉลี่ย 300 – 500 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง และมียอดภูเขาที่สูงกว่า 1,000 เมตร อยู่หลายแห่งแม่น้ำ มีลำคลอง 4 แห่ง และมีลำหัวยอยู่ 56 แห่ง นอกจากนี้พื้นที่อำเภอธารโตยังมีอ่างเก็บน้ำเขื่อนบางลาง หรือที่เรียกว่าทะเลสาปธารโตเป็นเนื้อที่ประมาณ 23,750 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 48 ของพื้นที่ทะเลสาบทั้งหมด
ภูมิอากาศ     ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี 2 ฤดู คือ
          •  ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง เดือนพฤษภาคม อุณหภูมิสูงสุด ( เดือนเมษายน )เฉลี่ยประมาณ 34 องศาเซลเซียส
          •  ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง เดือนธันวาคม และฝนจะตกชุกที่สุดในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึง ธันวาคม
ประชากร
           
มีประชากรทั้งสิ้น 19,413 คน แยกเป็นชาย 10,166 คน เป็นหญิง 9,247 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ยต่อพื้นที่ประมาณ 28.16 คน / ตารางกิโลเมตร

 การปกครอง
           
แบ่งเขตการปกครองตาม พ . ร . บ . ลักษณะปกครองท้องที่ พ . ศ . 2475 เป็น 4 ตำบล 33 หมู่บ้าน ดังนี้
      1. ตำบลธารโต จำนวน 7 หมู่บ้าน
      2. ตำบลคีรีเขต จำนวน 7 หมู่บ้าน
      3. ตำบลบ้านแหร จำนวน 11 หมู่บ้าน
      4. ตำบลหวาด จำนวน 8 หมู่บ้าน
มีเทศบาล 1 แห่ง คือเทศบาลตำบลคอกช้าง
มีองค์การบริหารส่วนตำบล 4 แห่ง


สภาพสังคม ศาสนา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี
1. ข้อมูลด้านการศึกษา
สถานศึกษาจังหวัด
จำนวน ( โรงเรียน )
จำนวนห้องเรียน
สปช .
สศ .
สช .
ตชด .
14
1
1
3
2
10
12
21
     •  การศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
     •  การศาสนา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามประมาณ 70 % ศาสนาพุทธประมาณ 30%
     •  ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
ประเพณีลอยกระทง , ทำบุญเดือนสิบ , การแต่งงานแบบพิธีทางศาสนาอิสลาม ,
การแต่งกายแบบอิสลาม , การจัดงานเมาลิด , งานวันสำคัญทางพุทธศาสนา

การสาธารณสุข มีสถานบริการ ดังนี้
     1. มีการใช้บริการด้านการสาธารณสุข โดยมีสถานบริการ ดังนี้
          •  โรงพยาบาล ขนาด 30 เตียง จำนวน 1 แห่ง
          •  สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จำนวน 1 แห่ง
          •  สถานีอนามัยประจำตำบล / หมู่บ้าน จำนวน 7 แห่ง
          •  สำนักงานส่วนมาเลเรีย จำนวน 1 แห่ง
          •  ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 1 แห่ง
     2. อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100
     3. หอกระจายข่าว จำนวน 13 แห่ง ครอบคลุมร้อยละ 70
     4. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
มีสถานีตำรวจภูธรอำเภอ / ตำบล / จำนวน 2 แห่ง ดังนี้
          
•  สถานีตำรวจภูธรอำเภอธารโต
            •  สถานีตำรวจภูธรตำบลแม่หวาด
5) สถานที่ท่องเที่ยว
      
มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่
          •  หมู่บ้านซาไก
          •  ทะเลสาปธารโต
          •  น้ำตกต่าง ๆ ได้แก่
          •  น้ำตกธารโต
          •  น้ำตกละอองรุ้ง
          •  น้ำตกผาแดง
          •  น้ำตกคอกช้าง
          •  ถ้ำต่าง ๆ เช่น ถ้ำลอด
          •  ป่าธรรมชาติ ได้แก่ ป่าบาลา - ฮาลา
6) ปัญหาสำคัญของท้องที่
      
สามารถจัดกลุ่มปัญหาเป็น 7 ด้าน คือ
          •  กลุ่มปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน
          •  กลุ่มปัญหาผลผลิต รายได้ และการมีงานทำ
          •  กลุ่มเป้าหมายสาธารณสุขและการอนามัย
          •  กลุ่มปัญหาความรู้และการศึกษา
          •  กลุ่มปัญหาแหล่งน้ำ
          •  กลุ่มปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ
          •  กลุ่มปัญหาอื่น ๆ

ศักยภาพและโอกาสของอำเภอ
           
1. ทรัพยากรดินและทรัพยากรน้ำ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ที่ประกอบด้วยแร่ธาตุต่าง ๆเหมาะแก่การ เพาะปลูก สำหรับแหล่งน้ำมีเพียงพอที่จะนำมาใช้ในการเกษตร จึงเหมาะแก่การพัฒนาให้เป็นแหล่งไม้ผล ทั้งเพื่อการบริโภคในประเทศและเพื่อการส่งออก
           2. ทรัพยากรธรรมชาติที่เหมาะแก่การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีทั้งน้ำตกและถ้ำต่าง ๆ ทะเลสาปบนภูเขา มีป่าธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีชนเผ่าซาไก จึงมีศักยภาพและปัจจัยที่พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ในอนาคต
           3. ที่ตั้งของอำเภออยู่ใกล้ชายแดนประเทศมาเลเซีย มีอำเภอเบตงเพียงอำเภอเดียว ที่กันอยู่ และมีเส้นทางคมนาคมห่างจากชายแดน 40 กิโลเมตร มีศักยภาพที่จะพัฒนาให้เป็นแหล่งสำหรับการส่งออกพืชเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว
           4. ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยทั่วไปไม่มีเหตุการณ์รุนแรง การดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนเป็นปกติ
8) ผลิตภัณฑ์ในโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
           
•  ไม้กวาดดอกอ้อ
           •  ป่าบาลา – ฮาลา
           •  หมู่บ้านซาไก